วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 

สรุปบทความ


วิทยาศาสตร์แสนสนุก ดอกไม้กระดาษบานในน้ำ

การทดลองถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เด็ก ๆ หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากความสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจที่เด็ก ๆ จะได้จากการทดลองแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะการคิด ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนช่างสำรวจ สืบเสาะ ค้นหา รู้จักหาคำตอบและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คุณครูและผู้ปกครองสามารถส่งเสริมให้กับเด็ก ๆ ได้ด้วยการหากิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สนุก ๆ มาให้เด็กได้ลองทำกัน

 

อุปกรณ์สำหรับการทดลอง
1 Pattern ดอกไม้กระดาษ สำหรับทำกิจกรรม
2ปากกาเมจิกหรือปากกาสีน้ำ
3ปากกาตัดเส้นสีดำ
4กรรไกร                                                            
5จานหรือถาด สำหรับใส่น้ำ 
  
6 น้ำ

          ขั้นตอนการทดลอง

1. ก่อนเริ่มการทดลองให้คุณครูและผู้ปกครอง แนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ทำการทดลองให้กับเด็ก ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ แล้วถามเด็ก ๆ เกี่ยวกับการทดลองในครั้งนี้ ว่าจะทำอะไร จะเกิดอะไรขึ้นแล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ คุณครูและผู้ปกครองอาจให้เด็ก ๆ ตั้งสมมติฐานก่อนการทดลอง โดยให้เด็กอาศัยการสังเกต ความรู้และประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานของคำตอบที่เด็กคาดการณ์ไว้ พร้อมจดบันทึกสมมติฐานของเด็กไว้ (หลังการทดลองก็นำสมมติฐานที่เด็ก ๆ ตั้งไว้มาเปรียบเทียบดูว่าเป็นไปตามที่คิดไว้หรือไม่ ทั้งนี้สมมติฐานของเด็ก ๆ ไม่มีคำว่าผิดนะคะ) เพื่อดูพัฒนาการของเด็กในการทดลองครั้งต่อไป 
 
2. หลังจากพูดคุยกับเด็ก ๆ แล้ว เราก็มาเริ่มทำการทดลองกันเลยค่ะ ขั้นแรกให้คุณครูหรือผู้ปกครองปริ้น Pattern ดอกไม้ลงบนกระดาษ A4 (สามารถดาวน์โหลด Pattern ดอกไม้กระดาษ ได้ที่ด้านล่างของบทความค่ะ) จากนั้นให้เด็กตัดกระดาษตามรอยประรูปสี่เหลี่ยมให้เรียบร้อย แต่ถ้ากล้ามเนื้อมือของเด็กยังไม่แข็งแรงพอ คุณครูและผู้ปกครองสามารถตัดแทนได้เลยค่ะ
 
3. เมื่อตัดกระดาษเสร็จแล้ว ให้เด็ก ๆ พับกระดาษตามเส้น A เส้น C และเส้น B ให้เรียบร้อย (ให้พับด้านที่ไม่มีรอยกลีบดอกไม้)
 
 
4. พลิกกระดาษอีกด้านขึ้นมา แล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษตามเส้นทึบรูปกลีบดอกไม้ โดยขั้นตอนนี้แนะนำให้คุณครูหรือผู้ปกครองเป็นคนทำนะคะ เพราะกระดาษที่พับจะค่อนข้างหนา เด็ก ๆ อาจตัดไม่ขาดหรือเกิดอันตรายจากการตัดกระดาษได้ค่ะ
 
 
5. คลี่กระดาษที่ตัดเรียบร้อยแล้วออกมา จากนั้นให้เด็ก ๆ ระบายสีดอกไม้กระดาษด้วยปากกาเมจิกหรือปากกาสีน้ำ ให้สวยงามได้เลยค่ะ (ระบายให้ทั่วเพียงด้านเดียวนะคะ) และเมื่อระบายสีเสร็จแล้ว ให้พลิกหน้ากระดาษอีกด้านขึ้นมา แล้วใช้ปากกาตัดเส้นวาดเกสรหรือเติมลวดลายกลีบดอกไม้ตามจินตนาการ (ไม่ต้องระบายสีดอกไม้กระดาษด้านนี้นะคะ)
 
 
 
6. ให้เด็ก ๆ พับกลีบดอกไม้กระดาษตามรอยประให้เรียบร้อยทั้งนี้คุณครูและผู้ปกครองอาจปริ้น Pattern ใบไม้ มาทำกิจกรรมด้วย ซึ่งการพับ ตัดและระบายสีเหมือนกับดอกไม้กระดาษเลยค่ะ เสร็จแล้วให้นำดอกไม้กระดาษที่พับเรีย
บร้อยแล้ว ใส่เข้าไปด้านในของใบไม้กระดาษอีกที
 
7. แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่เด็ก ๆ รอคอย นั้นก็คือการวางดอกไม้กระดาษลงในน้ำค่ะ (จานหรือถาดที่ใส่น้ำ แนะนำให้ใช้สีขาวจะดีที่สุดค่ะ เพราะจะทำให้เห็นสีของหมึกที่ละลายออกมาได้ชัดเจนค่ะ) ซึ่งดอกไม้กระดาษจะทำการดูดซึมน้ำเข้าไป ทำให้ดอกไม้กระดาษค่อย ๆ บานออก อีกทั้งการวางกระดาษที่ระบายด้วยปากกาเมจิกหรือปากกาสีน้ำลงในน้ำ จะทำให้หมึกละลายไหลไปทั่วแผ่นกระดาษและไหลลงไปในน้ำอีกด้วย (คุณครูหรือผู้ปกครองอาจให้เด็ก ๆ ใช้เวลาในการสังเกตดอกไม้กระดาษแต่ล่ะครั้ง ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เห็นการทำปฏิกิริยาระหว่างหมึกจากปากกาเมจิกกับน้ำได้ชัดเจนขึ้น)
 
 
ทำไมดอกไม้กระดาษถึงบาน...?
เนื่องจากกระดาษที่ทำด้วยเยื่อไม้มีรูพรุนมาก เมื่อเราพับกระดาษจะทำให้รูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไปลอยน้ำ น้ำจะค่อย ๆ ซึมเข้าไปในเยื่อกระดาษและรูพรุนเหล่านั้น ทำให้เกิดแรงผลัก โดยเฉพาะรูพรุนในบริเวณรอยพับของดอกไม้ จึงทำดอกไม้กระดาษบานออกมานั้นเองค่ะ ทั้งนี้กระดาษจะทำการดูดซึม (Absorption) น้ำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดการอิ่มตัว ซึ่งเป็นหลักการลำเลียงน้ำ (Osmosis) ของต้นไม้ค่ะ
นอกจากนี้น้ำจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับหมึกของปากกาเมจิกหรือปากกาสีน้ำ ทำให้หมึกเกิดการละลาย (Solubility) และทำให้หมึกเกิดการแพร่กระจาย (Diffusion) ไปทั่วทั้งแผ่นกระดาษและในน้ำ ดังที่เกิดขึ้นในการทดลองค่ะ
 
 


 


         



อ้างอิง  https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.youngciety.com%2Farticle%2Flearning%2Fpaper-flowers-science.html%3Ffbclid%3DIwAR0MGa8oIdl50zMarpPAQpZsng_EX190RKMfLaA1GQFUFY1GfvBTq6GaeFU&h=AT0MmBMwoWzYs4pcUFHQOhUw0sdXTwEBRlr8sXijBys6tCIhuMid9aSU0V95Busaoe80Yqktp4IFuWhp4BmrzNynTdW1ax0YT4KNDeaz1GevtVFk4jb2IyfHUSTEcfBLr5DP

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น. การทดลอง ไข่ไดโนเสาร์                                  ...